วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

การลดความเครียด 

ในขณะอยู่ที่ทำงาน
  1. รู้จักแบ่งงานให้กับผู้อื่น เพื่อลดภาระของตนเองเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่าคิดว่าตนเองมีความสามารถเพียงคนเดียว ถ้าทำเช่นนั้น เพื่อนร่วมงานและหัวหน้าของคุณอาจจะอยู่อย่างสบาย โดยที่คุณต้องรับภาระหน้าที่ในการทำงานหนักแต่เพียงผู้เดียว
  2. ความเบื่อหน่ายเป็นบ่อเกิดสำคัญแห่งความเครียดในการทำงาน ที่ควรกำจัดออกไปอย่างจริงจัง ถ้าหากคุณไม่ได้รับความก้าวหน้าในหน้าที่การงานเท่าที่ควรจะเป็น เมื่อวัดจากความสามารถของคุณ และทำให้คุณรู้สึกผิดหวังในแต่ละวัน ก็ถึงเวลาแล้วที่ควรมองหาโอกาสสำหรับความก้าวหน้าของตนเองในองค์กรอื่นๆ
  3. อย่าใส่ใจกับคำวิจารณ์ของผู้อื่นให้มากนัก ควรทำเพียงแค่นำคำติเตียนเหล่านั้นมาปรับปรุงแก้ไขในส่วนด้อยของตนเองเพื่อพัฒนาทักษะในการทำงาน แต่ถ้าคำวิจารณ์เหล้านั้น เป็นเพียงแค่คำนินทาหรือว่าร้าย (เช่น หัวหน้าด่าว่า หรือใช้คำพูดที่ไม่สุภาพกับคุณ) ก็ควรไปขอคำแนะนำจากฝ่ายบุคคลหรือผู้จัดการจะดีกว่า เพราะบางคำวิจารณ์ไม่ใช่สิ่งที่เราควรจะยอมรับ
ในขณะที่อยู่บ้าน
  1. ทำจิตใจให้สงบ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อและเรียกพลังให้กลับคืนสู่ร่างกาย คุณจะรู้สึกประหลาดใจเมื่อตนเองรู้สึกสดชื่นมากขึ้นหลังจากที่ทำสมาธิเพียงชั่วครู่ ดังนั้นจึงควรพยายามหาเวลาในแต่ละวันเพื่อทำสมาธิ และทำให้จิตใจสงบ
  2. การออกกำลังกายเป็นการผ่อนคลายความเครียดตามธรรมชาติ การว่ายน้ำอาจจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการผ่อนคลาย ดังนั้นควรหาเวลาไปสระว่ายน้ำหลังเลิกงานประมาณสัปดาห์ละสองครั้ง ผลข้างเคียงยังจะทำให้คุณมีรูปร่างดีขึ้นด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่คุมค่าแก่การลงทุนเป็นอย่างยิ่ง
  3. รู้จักหยุดพักเมื่อรู้สึกว่าเริ่มเกิดความตึงเครียดและเกิดปัญญาขัดแย้งภายในใจในแต่ละวัน อย่าปล่อยให้ค้างคาในจิตใจ ไปเดินเที่ยวในวันหยุดสุดสัปดาห์ ไม่ว่าจะไปคนเดียว ไปกับคู่รัก หรือเพื่อนฝูงก็ตาม เพราะจะทำให้คุณมีเวลาทำให้ตนเองได้ผ่อนคลาย นอกจากนั้น การไปเที่ยวพักผ่อนตามรีสอร์ท ก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นเดียวกัน
  4. ตามคำกล่าวที่ว่า “ You are what you eat” ไม่ควรทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไป ดื่มน้ำสะอาดให้มากๆ ทานผักผลไม้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และจำไว้ว่าไม่ต้องรู้สึกผิด หากต้องการทานช็อคโกแลตเพื่อผ่อนคลาย
  5. และท้ายที่สุด อย่าลืมตั้งเป้าหมายให้กับตนเอง พร้อมทั้งกำหนดเวลาในการไปให้ถึงเป้าหมายนั้น และจำไว้ว่า คุณมีเพียงชีวิตเดียว จงใช้ชีวิตให้มีความสุข ขอให้โชคดี
8วิธีการอ่านหนังสือสอบอย่างเซียน

1. หัดให้ตัวเองมีวินัยให้ได้ คือ ถ้าเราวางแผนว่าจะอ่านหนังสือให้ได้เท่านี้สำหรับวันนี้ เราก็ต้องทำให้ได้ วิธีฝึกเริ่มแรกให้กำหนดง่ายๆ ก่อนว่า วันนี้เราจะอ่านตำราแค่ 1 บท หรือ 10 หน้า เป็นต้น เอาแค่นี้ให้ได้ ถ้าอ่านจบเร็วก็ไปทำอย่างอื่น พอวันต่อๆ ไปก็ค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นตามสมควร แล้วก็ต้องอ่านให้ได้ตามเป้าหมาย เมื่อเราอ่านได้ตามเป้าแล้วในแต่ละครั้งก็อย่าลืมให้รางวัลตัวเองด้วยทุก ครั้ง โดยรางวัลก็อาจจะเป็นอะไรง่ายๆ เช่น ได้ดูละครหนึ่งเรื่องตอนกลางคืน เป็นต้น

2. วางแผนการอ่านหนังสือ เมื่อเรามีวินัยและเคารพการวางแผนของตัวเองแล้ว ต่อไปก็ต้อง วางแผนการอ่านหนังสือ การวางแผนที่ดีนั้นสำคัญมาก เพราะทำให้เราเดินไปถูกทิศทาง การวางแผนไม่ถือเป็นการเสียเวลา แต่เป็นการประหยัดเวลาในระยะยาว เพราะไม่ต้องไปเสียเวลาเดินผิดทาง
3. อย่าตะบี้ตะบันอ่านเกินควร อย่าคิดว่าตัวเองเป็น superman คือ สามารถอ่านหนังสือได้เยอะเกินกำลังภายในเวลาอันสั้น อย่าวางตารางการอ่านให้แน่นเกินไป เพราะนอกจากจะทำไม่ได้ตามแผนอยู่แล้ว ยังทำให้ตัวเองเครียดเพราะแผนนั้นโดยไม่จำเป็นด้วย แรกๆ อาจจะกะความสามารถตัวเองยากหน่อย หรือการอ่านตำราภาษาอังกฤษกับภาษาไทยก็ใช้ระยะเวลาการอ่านไม่เท่ากัน ก็ใช้เก็บสถิติจากการอ่านในรอบแรกๆ เช่น การอ่านภาษาอังกฤษ 1 หน้า เราใช้เวลา 10 นาที เราก็จะประมาณถูกว่าต้องใช้เวลาเท่าไรจึงจะอ่านจบบทหรือจบวิชา เป็นต้น
4. หาที่อ่านที่สงบเงียบและนั่งสบาย ส่วนบรรยากาศก็แล้วแต่คนชอบ บางคนชอบอ่านที่บ้าน ในห้องสมุด ในสวนมีต้นไม้เขียวๆ หรือในร้านกาแฟ หรือบางทีเราก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ควรไม่อยู่ใกล้ทีวี หรือสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เราเสียสมาธิ เพราะทำให้เราเสียเวลาในการอ่าน และทำให้จำได้ไม่ดีด้วย แต่ก็ทราบมาว่าบางคนจะชอบให้มีเสียงเพลงหรือเสียงอื่นๆ เวลาอ่านหนังสือด้วย อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบ
5. อย่าให้สิ่งใดมารบกวนการอ่าน เวลาอ่านหนังสือ เราควรกำหนดว่า เวลานี้เราจะตั้งใจ และไม่ปล่อยให้อะไรมาขัดโดยไม่จำเป็น เช่น อาจจะปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น คนอื่นก็จะไม่มารบกวนโดยไม่จำเป็น การได้ทำงานหรืออ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาติดต่อกันอย่างนี้มีประสิทธิภาพกว่า การอ่านที่ถูกหยุดด้วยสิ่งต่างๆ
6. พักผ่อนสมองบ้าง เมื่ออ่านหนังสือไปนานๆ เราก็จะเริ่มล้า ทั้งสมองที่ต้องคิด ทั้งร่างกายที่ไม่ได้ขยับ ทั้งสายตาที่ต้องจ้องอยู่นาน เราก็ควรกำหนดเวลาพัก อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบ อาจจะพักอ่านหนังสือทุกๆ ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมง โดยออกไปเดินยืดเส้นยืดสาย ดื่มน้ำ ทานขนม หรือไปมองต้นไม้เขียวๆ เวลาพักก็ต้องกำหนดด้วยว่า 5 นาที หรือ 15 นาที เป็นต้น
7. ชอบขีดเส้นหรือเน้นข้อความที่สำคัญในหนังสือโดยไม่หวงหนังสือว่าจะดูเลอะเทอะเลย เพราะชอบเวลากลับมาอ่านทวน เราก็จะรู้ว่าจุดไหนเป็นข้อมูลสำคัญ เรายังสามารถใช้ทบทวนก่อนสอบได้ด้วย สำหรับคนที่ชอบหนังสือใหม่ๆ เกลี้ยงๆ ก็อาจจะต้องหาสมุดกับปากกามาจดสิ่งที่สำคัญจากหนังสือนั้นๆ เพื่อการอ่านทบทวนได้
8. พยายามจัดเวลาอ่านหนังสือในช่วงเวลาที่เราตื่นตัวที่สุด อันนี้แตกต่างกันไป บางคนจะจำได้ดีถ้าอ่านตอนเช้า บางคนเป็นตอนเย็น ก็ต้องสังเกตตัวเองดู ถ้าทราบแล้วอาจจะกำหนดเป็นเวลาประจำทุกวัน เช่น ทุกวันเวลา 2 ทุ่ม - 5 ทุ่ม เราต้องอ่านตำราทบทวนที่เรียนมา เป็นต้น

การป้องกันโรค

1.  การป้องกันโรคล่วงหน้า  คือ การป้องกันโรคก่อนระยะที่โรคเกิด  เป็นวิธีการที่
ยอมรับกันทั่วไปว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด ประหยัดที่สุด และได้ผลมากที่สุดกว่าการป้องกันและควบคุมโรค
ระดับอื่น ๆ วัตถุประสงค์หลักของการป้องกันโรคล่วงหน้า คือ การปรับสภาพความเป็นอยู่ของมนุษย์ หรือการ
ปรับปรุงภาวะสิ่งแวดล้อมหรือทั้งสองประการร่วมกัน เพื่อให้เกิดภาวะที่โรคต่าง ๆ ไม่สามารถเกิดหรือคงอยู่ได้ โดยการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนให้สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ มีความต้านทานต่อโรคต่าง ๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อป้องกัน   มิให้มีพาหะ
และสื่อนำโรค ทั้งนี้เพื่อทำให้การแพร่กระจายของเชื้อที่เป็น  สาเหตุทำให้เกิดโรค  โดยผ่านทางสื่อต่าง ๆ ที่มี
อยู่ในชุมชนหมดไป ซึ่งกิจกรรมในการป้องกันโรค  ล่วงหน้ามีดังนี้
                                    1.1  การให้สุขศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปในการป้องกันโรค การเปลี่ยนแปลง
ทัศนคติ และการปฏิบัติงานให้ถูกหลักสุขวิทยาส่วนบุคคลและชุมชน
                                    1.2  การจัดโภชนาการให้ถูกต้องตามมาตรฐาน    เหมาะสมกับกลุ่มอายุและภาวะ
ความต้องการของบุคคล เช่น ทารก เด็กเล็ก วัยรุ่น วัยชรา หญิงมีครรภ์ แม่ระยะให้นมลูก  หรือผู้ป่วย
ด้วยโรคบางชนิดที่มีความต้องการอาหารพิเศษเฉพาะโรค
                                    1.3 การให้ภูมิคุ้มกันโรคเพื่อป้องกันโรคติดต่อต่าง ๆ ที่สามารถป้องกันได้ โดย
การใช้วัคซีน เช่น การให้ภูมิคุ้มกันโรคขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กเล็กที่จำเป็นต้องได้รับสำหรับการป้องกันโรคคอตีบ
ไอกรน บาดทะยัก ไข้ไขสันหลังอักเสบ หรือโรคโปลิโอ และวัณโรค และการให้ภูมิคุ้มกันโรคขั้นเสริม ซึ่งได้แก่ กลุ่มชนอายุต่าง ๆ ตามความจำเป็นและโอกาสที่ต้องเสี่ยงต่อการเกิดโรค ได้แก่ การให้ภูมิคุ้มกันโรคอหิวาต์ ไข้ไทฟอยด์ ไข้สมองอักเสบ  ไข้หัด เป็นต้น
                                    1.4  กิจกรรมที่ส่งเสริมในด้านการเลี้ยงดูเด็กที่ถูกต้อง การสนใจ การสังเกตถึง
การเจริญเติบโตของเด็กทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ทั้งนี้เพื่อจะให้เด็กได้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มี
สุขภาพอนามัยสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ
                                    1.5  การจัดที่อยู่อาศัยที่ถูกสุขลักษณะ การจัดหาสถานพักผ่อนหย่อนใจในชุมชน
ได้เพียงพอ การจัดสถานที่สันทนาการ สนามกีฬา สนามเด็กเล่น รวมทั้งสถานที่สำหรับประกอบอาชีพที่
ปลอดภัยและเหมาะสม
                                    1.6  การจัดหรือปรับปรุงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การจัดหาน้ำสะอาด
การกำจัดของเสียและสิ่งปฏิกูล การสุขาภิบาลอาหาร เครื่องดื่ม นม การกำจัดหรือควบคุมมลพิษ การกำจัด
หรือควบคุมสัตว์และแมลงนำโรค และการควบคุมสิ่งที่ก่อให้เกิดความรำคาญต่าง ๆ
                                    1.7  การจัดบริการให้ความปลอดภัยในด้านการป้องกันอุบัติเหตุ ภัยจากการ
ประกอบอาชีพ การจราจร การเดินทางท่องเที่ยว ฯลฯ
                                    1.8  การจัดให้มีบริการด้านการตรวจสุขภาพอนามัย โดยเฉพาะสำหรับเด็กเล็ก
หรือเด็กนักเรียนซึ่งกำลังเจริญเติบโต เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
                                    1.9  การจัดให้มีบริการด้านให้คำปรึกษา และแนะนำเกี่ยวกับเพศศึกษา การสมรส
การส่งเสริมสุขภาพจิต ความรู้เกี่ยวกับพันธุกรรม การป้องกันโรค และการโภชนาการ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น